วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การค้ำประกัน-การจำนอง-การจำนำ



ค้ำประกัน 

คืออะไร  ?
ค้ำาประกัน (Guarantee) เปนคําใชเรียกการประกันการชําระหนี้ดวยบุคคลอันเปนสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งบุคคลอื่นนอกเหนือจากเจาหนี้และลูกหนี้ยอมตกลงกับเจาหนี้วาหากลูกหน ี้ไมชําระหนี้ตนจะยอมชาระหนี้ให้เจ าหนี้เปนการเอาความนาเชื่อถือ หรือความมีฐานะทางการเงินของตนเองเขาประกันจะชำระหน ี้ใหบุคคลนเรียกวา ผูค้าประกัน[1]  



 ค้ำประกันกันอย่างไร ?
การค้ำประกันเกิดขึ้นไดทั้งกรณีหนี้การกูยืมเงินและหนี้ทางการคาอื่นๆ หากผูค้ำประกันตกลงจะประกันการชําระหนี้ใหแกเจาหนี้เมื่อลูกหนี้ไมชําระหนี้ก็พอแลวไมจําเปนที่จะตองขอความยินยอมจากลูกหนี้อีกลูกหนี้จะยินยอมหรือไมผูค้ำประกันก็เขาค้ำประกันหนี้ไดตามที่ตนตกลงใจจะคาประกันจำนวนเท่าใดกได้จะค้ำ ประกันทั้งจำนวนหรือบางส่วนก็ได้รวมทงจะค้ำประกันร่วมกันอีกกี่คนก็ได้เช่นกัน หากไมมีการ ค้ำ ประกันการชําระหนี้เมื่อลูกหนี้ไมชําระหนี้เจาหนี้ก็ตองติดตามทวงกับตัวลกหนี้ เท่าน ั้น แตถามีผูค้ำประกันในหนี้รายนั้น เจ้าหนี้ก็สามารถไดรับชําระหนี้จากผู ค้ำประกันไดอีกด้วย จะทวงถามกับลูกหนี้หรือทวงถามกับผู ค้ำ ประกันก็ไดหรือทวงถามทั้งสองฝายเลยก็ได้โอกาสที่เจาหนี้จะไดรับชําระหนี้จากหนี้ที่มีการค้ำประกันจึงมีมากขึ้น แตตองไมลืมที่จะทําหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เพราะหากไมมีหลักฐานดังกลาวก็จะฟองร้องบังคับคดีไม่ได้[2]



ผูค้ำประกันจะรับผิดเมื่อใด?
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ผูค้ำประกนตัองรับผิดแตถึงกระนั้นผูค้ำประกันก็ยังมีสิทธิที่จะบายเบี่ยงใหเจาหนี้เรียกใหลูกหนี้ชําระหนี้กอนไดหากพิสูจนไดวาลูกหนี้มีทางชําระหนี้ไดหรือขอใหเจาหนี้ไปรับชําระหนี้จากทรัพยที่เจาหนี้ยึดถือไวเปนประกันกอนไดและเมื่อผูค้ำประกันชำระหนี้ไปแล้วก็มีสิทธิไปไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ได้[3]


การจำนำ
การจำนำ คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำนำสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของบุคคลอีก
คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ  เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่ผู้จำนำเป็นหนี้ผู้รับจำนำ[4] 

ตัวอย่าง นาย ก. ได้กู้เงินนาย ข. เป็นเงิน 3,000 บาท โดยนาย ก. มอบสร้อยคอทองคำให้นาย ข. ยึดถือไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้เงินกู้ 3,000 บาท ของนายก. สัญญาเช่นนี้ เรียกว่า สัญญาจำนำ [5]
ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้
ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้แก่ สังหาริมทรัพย์ ทุกชนิด  สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอาจเคลื่อนจากที่หนึ่งไปแห่งอื่นได้เช่น รถยนต์, นาฬิกา , แหวน , สร้อย ฯลฯ
สิทธิของผู้รับจำนำ
ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดของที่จำนำไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืนแล้วจนครบถ้วน [6]
สิทธิจำนำมีขอบเขตเพียงใด
การจำนำย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้คือ
1. ต้นเงิน
2. ดอกเบี้ย
3. ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้
4. ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
5. ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินที่จำนำ
6. ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์ที่จำนำ ซึ่งผู้รับจำนำมองไม่เห็นในวันรับจำนำนั้น
เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว หากลูกหนี้ (ผู้จำนำ) ผิดนัดไม่ยอมชำระหนี้ ผู้รับจำนำต้องบังคับจำนำทรัพย์ที่จำนำนั้น 
ผู้รับจำนองจะยึดถือเอาทรัพย์จำนำหลุดเป็นของตนเองโดยไม่มีการบังคับจำนำไม่ได้[7]
การบังคับจำนำ
มีวิธีการดังต่อไปนี้คือ
1. ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ลูกหนี้จัดการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ 
ดังได้กล่าวมาแล้วภายในเวลาอันสมควรซึ่งได้กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวดังกล่าว
2. ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำมีสิทธินำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขาย
ทอดตลาดได้
3. ผู้รับจำนำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนำทราบถึงวันที่จะขายทอดตลาดและสถานที่ที่จะทอดตลาด
ข้อยกเว้น
แต่ถ้าลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่าเวลาที่กำหนด 1 เดือน และไม่สามารถจะบอกกล่าว ก่อนได้ผู้รับจำนำไม่ต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบก่อนแต่อย่างใด ผู้รับจำนำมีอำนาจนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดได้ทันที(ป.พ.พ. มาตรา 765)[8]


การจำนองคืออะไร?
จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนองเพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง [9]
ตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโทเป็นจำนวน 2 แสนบาท โดยนายเอกได้นำที่ดินของตนจำนวน 1 แปลงไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 2 แสนบาท ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท โดยนายเอกไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นายโท นายเอกยังคงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ[10]
การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั้น แบ่งออกเป็น 2กรณีคือ
1. การจำนองทรัพย์ของตนเองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง
ตัวอย่าง นายเอก ได้กู้เงินจากนายโท 2 แสนบาท โดยนายเอกนำที่ดินซึ่งเป็นของตนเองไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนายเอกเอง
2. การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น
ตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโท เป็นจำนวนเงิน 2 แสนบาท โดยนายตรีได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท

 ทรัพย์สินที่อาจใช้ในการจำนองได้
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภทกล่าวคือ
1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดอันติดอยู่กับที่ดินนั้น
2. สังหาริมทรัพย์ ที่จำนองได้ คือ
ก. เรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระว่างตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
ข. แพ
ค. สัตว์พาหนะ
ง. สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่เป็นต้น[11]
หลักเกณฑ์ในการจำนอง
1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในทรัพย์ที่จะจำนอง
2. สัญญาจำนอง ต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันแก่คู่สัญญาแต่อย่างใดในการกู้ยืมเงินนั้นมีอยู่เสมอ ที่ผู้กู้ได้นำเอาโฉนดที่ดินของตนไปมอบให้แก่ผู้ให้กู้เก็บรักษาไว้เฉยๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยไม่มีการทำเป็นหนังสือและไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่การจำนอง ผู้ให้กู้หาได้มีสิทธิใดๆ ในที่ดินตามโฉนดแต่อย่างใด คงได้แต่เพียงกระดาษโฉนดไว้ในครอบครองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าผู้ให้กู้ประสงค์ที่จะให้เป็นการจำนองตามกฎหมายแล้ว จะต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
3. ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับจดทะเบียนจำนองตามกฎหมาย
 ผลของสัญญาจำนอง
1. ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิในทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ก็ตาม
2. นอกจากนี้ผู้รับจำนองยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาทรัพย์สินที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิของตนได้หากเข้าเงื่อนไข ดังนี้คือ
(1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี
(2) ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ และ
(3) ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
3. ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ หรือ ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดเป็นของผู้รับจำนองและราคาทรัพย์นั้นมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ ทั้งสองกรณีนี้ เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจำนวนในเงินที่ยังขาดอยู่นั้น
4. ในกรณีที่มีการบังคับจำนอง เมื่อนำที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใดแล้วก็ให้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้คืนให้แก่ผู้รับจำนอง หากมีเงินเหลืออยู่เท่าใดก็ให้ส่งมอบคืนให้แก่ผู้จำนองผู้รับจำนองจะเก็บ[12]
ไว้เสียเองไม่ได้

วิธีบังคับจำนอง
 ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้คืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้รับจำนองจะใช้สิทธิบังคับจำนอง หากถึงกำหนดนัดแล้วลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระ ผู้รับจำนองต้องฟ้องผู้จำนองต่อศาล เพื่อให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ ก็ขอให้ศาลสั่งให้นำเอาทรัพย์ที่จำนองนั้นออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ของตน หรือขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์ที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิของตนหากเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ จะเห็นได้ว่ากฎหมายบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าการบังคับจำนองจะต้องฟ้องคดีต่อศาลเสมอจะนำเอาที่ดินออกขายทอดตลาดเองไม่ได้ และต้องมีการออกจดหมายทวงหนี้ไปถึงลูกหนี้ก่อนเสมอจะฟ้องคดีโดยไม่มีการบอกกล่าวทวงถามก่อนไม่ได้
การบังคับจำนองนี้จะไม่คำนึงเลยว่าในขณะที่มีการบังคับจำนองนั้น ทรัพย์สินที่จำเลยอยู่ในความครอบครองของใคร หรือลูกหนี้ได้โอนกรรมสิทธิไปยังผู้อื่นกี่ทอดแล้วก็ตาม สิทธิจำนองย่อมติดตามตัวทรัพย์สินที่จำนองไปด้วยเสมอ แม้ว่าจะเป็นการโอนทางมรดกก็ตาม สิทธิจำนองก็ติดตามไปด้วย[13]


ค้ำประกัน VS จำนอง VS จำนำ

1.        ค้ำประกันเป็นการประกันด้วยบุคลคลซึ่งจะต้องเป็นบุคคลภายนอกเข้าผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระนั้นซึ่งบุคคลภายนอกทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้ โดยที่ลูกหนี้ไม่ยินยอมก็ได้  เพราะกฎหมายใช้คำว่า “ ค้ำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง” ลูกหนี้จะเป็นผู้ค้ำไม่ได้  เพราะแม้ลูกหนี้จะเป็นผู้ค้ำก็หาทำให้เจ้าหนี้มีหลักประกันดีขึ้นแต่อย่างใดถ้าบุคคลภายนอกมิได้ทำสัญญาผูกพันตนต่อเจ้าหนี้  แต่ผูกพันระหว่างบุคคลภายนอกด้วยกันก็ไม่เป็นการค้ำประกัน ตาม มาตรา 680แต่จำนองกับจำนำนั้น เป็นการประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์  ตัวบุคคลหาได้เข้าไปผูกพันไม่และตัวผู้จำนอง  หรือผู้จำนำ จะเป็นตัวลูกหนี้เองหรือบุคคลภายนอกก็ได้
2.      ทั้งค้ำประกัน จำนองและจำนำ ต่างก็เป็นหนี้อุปกรณ์ ประกันหนี้ประธานจึงต้องมีหนี้ประธานเกิดขึ้นก่อนเสมอ  ถ้าสัญญาประธานใช้บังคับไม่ได้แล้ว สัญญาอุปกรณ์ย่อมใช้ไม่ได้ด้วยเช่นนี้หนี้ประธานจะต้องสมบูรณ์  ซึงตามมาตรา 681 และ 707 ไดนำบทบัญญัติว่าด้วยการคำประกันมาบังคับใช้โดยอนุโลม
3.      ค้ำประกัน เป็นการประกันด้วยบุคคลเท่านั้นแต่การจำนองนั้นเป็นการประกันด้วยทรัพย์ คืออสังหาฯ  และสังหาฯพิเศษ ตามมาตรา 703 และการจำนองนั้นต้องเป็นประกันด้วยสังหาฯเท่านั้น ตามมาตรา 747 บัญญัติไว้ชัดแจ้ง
4.      สัญญาค้ำประกันไม่มีแบบ หากแต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามมาตรา 680 ว.2 อย่างไรก็ดีแต่ถ้าสัญญาจำนองนั้นหากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 714 และไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ สัญญาจำนำ มิได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด ตามมาตรา 747 จะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำ ถ้าไม่ส่งมอบก็ไม่เป็นจำนำ  และตามมาตรา 747 ก็ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยจึงจะฟ้องร้องกันได้  แต่ทั้นี้ต้องพิจารณาหนี้ประธานเป็นหลัก
5.      ค้ำประกันเป็นการประกันด้วยตัวบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องมีเรื่องทรัพย์มาเกี่ยวข้องแต่จำนองและจำนำเป็นการประกันด้วยทรัพย์ เป็นเหตุทำให้ทรัพย์อาจหลุดมือไปได้ ผู้จำนองและผู้จำนำจึงต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ ตามมาตรา 705 แห่งบทบัญญัติว่าด้วยการจำนอง
6.       สัญญาค้ำประกันสามารถตกลงอย่างใดๆก็ได้ในสัญญา เท่าที่ไม่ขัดต่อบทกฎหมาย  ข้อตกลงนั้นก็สมบูรณ์ แต่ทั้งสัญญาจำนองและจำนำนั้น มีบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจำนองและการบังคับจำนำบัญญัติไว้ชัดแจ้ง กล่าวคือ การที่ตะตกลงกันไว้เสียก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนำชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ให้ผู้รับจำนองหรือผู้รับจำนำ เข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งจำนองหรือจำนำหรือว่าให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่อนอย่างใด นอกจากบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจำนองหรือการบังคับจำนำ ข้อตกลงเช่นนั้นไม่สมบูรณ์ ตามมาตรา 711 การจำนอง และมาตรา 756 การจำนำ
7.        สัญญาค้ำประกันเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำชำระหนี้ได้นับแต่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ กล่าวคือ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วจึงเรียกให้ลูกหนี้รับผิด  หากลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติ เจ้าหนี้จึงจะเรียกผู้ค้ำได้ ตามมาตรา 686การบังคับจำนองและบังคับจำนำเช่นเดียวกัน จะฟ้องบังคับคดีได้ก็แต่หนี้ประธานถึงกำหนดชำระแล้ว
8.         สัญญาค้ำประกัน มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 หากหนี้ขาดอายุ ลูกหนี้ยกข้อต่อสู้หรือผู้ค้ำยกข้อต่อสู้ต่อเจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 694 แต่จำนองไม่มีอายุความตามมาตรา 193/27 แม้ขาดอายุความก็บังคับจำนองได้ตามมาตรา 745จำนำ มีอายุคาม 6 เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์จำนำ หรือขายทอดตลาด ตามมาตรา 763
 9.        หลักเกณฑ์ในเรื่องผู้จำนองร่วมกันหลายคน  ไม่มีสิทธิ์ไล่เบี้ยกันเอง แต่มีสิทธิ์ได้คืนจากลูกหนี้ ตามมาตรา 725+724 แตกต่างจากผู้ค้ำหลายคน ตามมาตรา  682 ให้รับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วมสามารถไล่เบี้ยกันเองได้ตามมตรา 693 เพราะผู้จำนองเป็นบุคคลผู้ต่างเอาทรัพย์สินมาประกันหนี้สิ่งประกันหนี้คือทรัพย์จำนอง ผู้จำนองมิได้เข้าผูกพันด้วยแต่อย่างใด ซึ่งต่างจากผู้ค้ำที่ผู้ค้ำต้องผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ อย่างไรก็ดีในเรื่องจำนำ ก็เป็นการประกันทรัพย์เช่นเดียวกับจำนอง แม้มิได้บัญญัติไว้จึงควรปรับใช้มาตรา  724 บังคับโดยอนุโลม
10.       ผู้จำนองที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนอง จะขอให้เจ้าหนี้บังคับเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนโดยอาศัย ม. 688 ,689 และ 690 หาได้ไม่ เพราะมาตรา 727 และ 707 ว่าด้วยการรจำนองอนุโลมเพียง 681,697,700,701 ในเรื่องผู้ค้ำหลุดพ้นความรับผิดและหนี้อันสมบูรณ์ใช้เท่านั้นแต่ในเรื่องจำนำ ไม่มีบทระบุลำดับบังคับจำนำ  การเฉลี่ยการชำระหนี้จึงนำ ม. 734 จำนองมาใช้โดยอนุโลม การจำนำก็เป็นการประกันด้วยทรัพย์เช่นจำนอง จึงใช้สิทธิตาม ม. 688,689 และ 690 ว่าด้วยค้ำประกันไม่ได้ด้วย
11.      การบังคับจำนองนั้นตามมาตรา 728 และ 729 ไม่ว่าวิธีใดจะต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้นถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ต้องฟ้องต่อศาลขอบังคับจำนองเท่านั้น แต่ในการบังคับจำนำวิธีการเหมือนกันเพียงแต่ผู้รับจำนำสามารถเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดได้ ไม่ต้องฟ้องต่อศาลเช่นจำนอง ตาม ม.764,765 และการบังคับจำนำนั้นมีได้วิธีเดียว  คือขายทอดตลาดเท่านั้น ไม่มีการเอาทรัพย์หลุดเช่น 729 ว่าด้วยจำนอง
 12.       สิทธิจำนองครอบเพียงใด ตามมาตรา 715 ทรัพย์สินที่จำนองย่อมเป็นประกันหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ด้วย มี 3 อย่างคือ 1.ดอกเบี้ย 2. ค่าสินใหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ 3.ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง แต่สิทธิจำนำครอบเพียงใดนั้น ตาม ม. 748 บัญญัติเช่นเดียวกับจำนอง 1,2,3, เพียงแต่เพิ่ม 4.ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจำนำ และ 5.ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุดบกพร่อง ซึ่งการค้ำประกันนั้น ถ้าเป็นการค้ำอย่างไม่มีจำกัด การค้ำหนี้ประธานย่อมคุ้มถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ด้วย ตาม ม.683 ซึ่งคล้ายการจำนองและจำนำ หากแต่ไม่มีค่ารักษาทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี ม. 684 ยังกำหนดให้ ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมศาลเช่นเดียวกับจำนองและจำนำด้วย
12.      ผลแห่งการบังคับจำนองและจำนำ ตาม ม. 732,733 และ 767 บัญญัติไว้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อบังคับจำนองหรือจำนำ ได้จำนวนเงินสุทธิเท่าใด ต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์ให้เสร็จสิ้นถ้ายังมีเงินเหลืออยู่เท่าใด ก็ให้ส่งคืน แก่ผู้จำนองหรือจำนำ (767 ว.1+732)แต่ตาม ม. 732  ระบุให้ต้องจัดสรรตามลำดับ แต่จำนำไม่ต้องเพราะเจ้าหนี้ไม่ต้องฟ้องต่อศาลก็ขายทอดตลาดได้ และกรณีตาม ม.733 ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุดหรือขายทอดตลาด แล้วไดเงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนที่ค้างชำระอยู่ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด  กล่าวคือทั้งลูกหนี้ชั้นต้น และผู้รับจำนองแต่ ม. 767 ว.2 ถ้าได้เงินจำนวนน้อยกว่า จำนวนค้างชำระ ตัวผู้จำนำหรือบุคคลภายนอก ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดอยู่  ตามมูลนี้ประธานที่บังคับได้ตามกฎหมาย ในเรื่องค้ำประกันจะแตกต่างจากจำนองคือลูกหนี้ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดนั้นถ้าผู้ค้ำช้ำชำระหนี้ไปหมดจะเหมือนกรณีจำนำ
 14.       ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาค้ำประกันนั้น ตาม ม. 698 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใดๆแต่ ม. 744 กำหนดว่าจำนองย่อมระงับสิ้นไป
(1.)  เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไป ด้วยประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ
(2.)   เมื่อปลดจดนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ
(3.)  เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น
(4.)  เมื่อถอนจำนอง
(5.)  เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาลอันเนื่องมาจากการบังคับจำนองหรือถอนจำนอง
(6.)  เมื่อทรัพย์จำนองนั้นหลุด
และใน ม. 769 จำนำย่อมระงับสิ้นไป
(1)    เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไป เพราะเหตุประการอื่นมิใช่เหตุอายุความ
(2)    เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำ
จะเห็นไดว่าทั้งจำนอง และจำนำแม้หนี้จะขาดอายุความก็ยังมิใช่เหตุที่ทำให้หนี้ระงับ
               แต่ค้ำประกันระงับไม่ว่าจะเพราะเหตุใดๆ
อีกทั้งจำนำเมื่อสัญญาสมบูรณ์ด้วยส่งมอบ หนี้จะระงับก็ต้องส่งคืน ต่างจากจำนองที่ต้องไปจดทะเบียน ตาม ม. 746[14]

 ________________________________________________________








Note
_______________________________________________________________________________________________________________________________

[1]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๑๕
[2]ปัญญา ถนอมรอด,คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ:จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,พิมพ์ครั้งที่๘)หน้า๙๑
[3]ชัยยุทธ์ ศรีจำนงค์,เอกสารประกอบการสอน วิชา LA3112 :หมวดที่1บทเบ็ดเสร็จทั่วไป,หน้า๒๙๗
[4]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๔๓
[5]ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร,ถาม-ตอบ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชนพิมพ์ครั้งที่ 5, ๒๕๕๓) หน้า๗๖
[6]ปัญญา ถนอมรอด,คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ:จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,พิมพ์ครั้งที่๘)หน้า๓๖๖
[7]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๕๑
[8]ชัยยุทธ์ ศรีจำนงค์,เอกสารประกอบการสอน วิชา LA3112 :หมวดที่1บทเบ็ดเสร็จทั่วไป,หน้า๓๒๔
[9]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๒๕
[10]ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร,ถาม-ตอบ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชนพิมพ์ครั้งที่ 5, ๒๕๕๓) หน้า๖๒
[11]ชัยยุทธ์ ศรีจำนงค์,เอกสารประกอบการสอน วิชา LA3112 :หมวดที่1บทเบ็ดเสร็จทั่วไป,หน้า๓๐๒
[12]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๓๒
[13]ปัญญา ถนอมรอด,คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ:จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,พิมพ์ครั้งที่๘)หน้า๒๘๐
[14]เพียงสายสร้อย,เปรียบเทียบค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(online)แหล่งที่มา;http://www.oknation.net/blog/print.php?id=221647(17 กุมภาพันธ์ 2555)

 Reference
_________________________________________________________________________________

รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)
ปัญญา ถนอมรอด,คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ:จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,พิมพ์ครั้งที่๘)
ชัยยุทธ์ ศรีจำนงค์,เอกสารประกอบการสอน วิชา LA3112 :หมวดที่1บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร,ถาม-ตอบ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชนพิมพ์ครั้งที่ 5, ๒๕๕๓)
เพียงสายสร้อย,เปรียบเทียบค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(online)แหล่ที่มา;http://www.oknation.net/blog/print.php?id=221647(17 กุมภาพันธ์ 2555)











7 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากๆครับสรุปได้ดีและข้อนข้างครบถ่วนมากๆ

    ตอบลบ
  2. อาจจะมีการแก้ไขตัวบทเพิ่มในมาตรา 681/1เท่านั้นครับ แก้ไขเมื่อปี57

    ตอบลบ
  3. 3 Everquest: Titanium Edition - ITIAN Arts
    3 Everquest: Titanium Edition. ITIAN titanium damascus knives Arts. 3. I love the original titanium easy flux 125 amp welder game, a bit old titanium ore but titanium security that's a good thing. titanium edc It looks pretty good. It's still a little

    ตอบลบ
  4. The information that you have presented in your blog All of this information is precious and is another very important source of information for me.
    เคล็ดลับเดิมพันคาสิโนUFABET

    ตอบลบ
  5. เว็บเดิมพัน SLOT PG ที่ดีที่สุดในตอนนี้ เล่นง่าย สมัครฟรีไม่มีขั้นต่ำ เกมสล็อตพีจี

    ตอบลบ
  6. Efforts even if no one sees But there is this our identity and that is seen. cm'แทงบอลโลก2022

    ตอบลบ