วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การค้ำประกัน-การจำนอง-การจำนำ



ค้ำประกัน 

คืออะไร  ?
ค้ำาประกัน (Guarantee) เปนคําใชเรียกการประกันการชําระหนี้ดวยบุคคลอันเปนสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งบุคคลอื่นนอกเหนือจากเจาหนี้และลูกหนี้ยอมตกลงกับเจาหนี้วาหากลูกหน ี้ไมชําระหนี้ตนจะยอมชาระหนี้ให้เจ าหนี้เปนการเอาความนาเชื่อถือ หรือความมีฐานะทางการเงินของตนเองเขาประกันจะชำระหน ี้ใหบุคคลนเรียกวา ผูค้าประกัน[1]  



 ค้ำประกันกันอย่างไร ?
การค้ำประกันเกิดขึ้นไดทั้งกรณีหนี้การกูยืมเงินและหนี้ทางการคาอื่นๆ หากผูค้ำประกันตกลงจะประกันการชําระหนี้ใหแกเจาหนี้เมื่อลูกหนี้ไมชําระหนี้ก็พอแลวไมจําเปนที่จะตองขอความยินยอมจากลูกหนี้อีกลูกหนี้จะยินยอมหรือไมผูค้ำประกันก็เขาค้ำประกันหนี้ไดตามที่ตนตกลงใจจะคาประกันจำนวนเท่าใดกได้จะค้ำ ประกันทั้งจำนวนหรือบางส่วนก็ได้รวมทงจะค้ำประกันร่วมกันอีกกี่คนก็ได้เช่นกัน หากไมมีการ ค้ำ ประกันการชําระหนี้เมื่อลูกหนี้ไมชําระหนี้เจาหนี้ก็ตองติดตามทวงกับตัวลกหนี้ เท่าน ั้น แตถามีผูค้ำประกันในหนี้รายนั้น เจ้าหนี้ก็สามารถไดรับชําระหนี้จากผู ค้ำประกันไดอีกด้วย จะทวงถามกับลูกหนี้หรือทวงถามกับผู ค้ำ ประกันก็ไดหรือทวงถามทั้งสองฝายเลยก็ได้โอกาสที่เจาหนี้จะไดรับชําระหนี้จากหนี้ที่มีการค้ำประกันจึงมีมากขึ้น แตตองไมลืมที่จะทําหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เพราะหากไมมีหลักฐานดังกลาวก็จะฟองร้องบังคับคดีไม่ได้[2]



ผูค้ำประกันจะรับผิดเมื่อใด?
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ผูค้ำประกนตัองรับผิดแตถึงกระนั้นผูค้ำประกันก็ยังมีสิทธิที่จะบายเบี่ยงใหเจาหนี้เรียกใหลูกหนี้ชําระหนี้กอนไดหากพิสูจนไดวาลูกหนี้มีทางชําระหนี้ไดหรือขอใหเจาหนี้ไปรับชําระหนี้จากทรัพยที่เจาหนี้ยึดถือไวเปนประกันกอนไดและเมื่อผูค้ำประกันชำระหนี้ไปแล้วก็มีสิทธิไปไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ได้[3]


การจำนำ
การจำนำ คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำนำสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของบุคคลอีก
คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ  เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่ผู้จำนำเป็นหนี้ผู้รับจำนำ[4] 

ตัวอย่าง นาย ก. ได้กู้เงินนาย ข. เป็นเงิน 3,000 บาท โดยนาย ก. มอบสร้อยคอทองคำให้นาย ข. ยึดถือไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้เงินกู้ 3,000 บาท ของนายก. สัญญาเช่นนี้ เรียกว่า สัญญาจำนำ [5]
ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้
ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้แก่ สังหาริมทรัพย์ ทุกชนิด  สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอาจเคลื่อนจากที่หนึ่งไปแห่งอื่นได้เช่น รถยนต์, นาฬิกา , แหวน , สร้อย ฯลฯ
สิทธิของผู้รับจำนำ
ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดของที่จำนำไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืนแล้วจนครบถ้วน [6]
สิทธิจำนำมีขอบเขตเพียงใด
การจำนำย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้คือ
1. ต้นเงิน
2. ดอกเบี้ย
3. ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้
4. ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
5. ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินที่จำนำ
6. ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์ที่จำนำ ซึ่งผู้รับจำนำมองไม่เห็นในวันรับจำนำนั้น
เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว หากลูกหนี้ (ผู้จำนำ) ผิดนัดไม่ยอมชำระหนี้ ผู้รับจำนำต้องบังคับจำนำทรัพย์ที่จำนำนั้น 
ผู้รับจำนองจะยึดถือเอาทรัพย์จำนำหลุดเป็นของตนเองโดยไม่มีการบังคับจำนำไม่ได้[7]
การบังคับจำนำ
มีวิธีการดังต่อไปนี้คือ
1. ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ลูกหนี้จัดการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ 
ดังได้กล่าวมาแล้วภายในเวลาอันสมควรซึ่งได้กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวดังกล่าว
2. ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำมีสิทธินำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขาย
ทอดตลาดได้
3. ผู้รับจำนำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนำทราบถึงวันที่จะขายทอดตลาดและสถานที่ที่จะทอดตลาด
ข้อยกเว้น
แต่ถ้าลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่าเวลาที่กำหนด 1 เดือน และไม่สามารถจะบอกกล่าว ก่อนได้ผู้รับจำนำไม่ต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบก่อนแต่อย่างใด ผู้รับจำนำมีอำนาจนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดได้ทันที(ป.พ.พ. มาตรา 765)[8]


การจำนองคืออะไร?
จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนองเพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง [9]
ตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโทเป็นจำนวน 2 แสนบาท โดยนายเอกได้นำที่ดินของตนจำนวน 1 แปลงไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 2 แสนบาท ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท โดยนายเอกไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นายโท นายเอกยังคงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ[10]
การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั้น แบ่งออกเป็น 2กรณีคือ
1. การจำนองทรัพย์ของตนเองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง
ตัวอย่าง นายเอก ได้กู้เงินจากนายโท 2 แสนบาท โดยนายเอกนำที่ดินซึ่งเป็นของตนเองไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนายเอกเอง
2. การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น
ตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโท เป็นจำนวนเงิน 2 แสนบาท โดยนายตรีได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท

 ทรัพย์สินที่อาจใช้ในการจำนองได้
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภทกล่าวคือ
1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดอันติดอยู่กับที่ดินนั้น
2. สังหาริมทรัพย์ ที่จำนองได้ คือ
ก. เรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระว่างตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
ข. แพ
ค. สัตว์พาหนะ
ง. สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่เป็นต้น[11]
หลักเกณฑ์ในการจำนอง
1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในทรัพย์ที่จะจำนอง
2. สัญญาจำนอง ต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันแก่คู่สัญญาแต่อย่างใดในการกู้ยืมเงินนั้นมีอยู่เสมอ ที่ผู้กู้ได้นำเอาโฉนดที่ดินของตนไปมอบให้แก่ผู้ให้กู้เก็บรักษาไว้เฉยๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยไม่มีการทำเป็นหนังสือและไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่การจำนอง ผู้ให้กู้หาได้มีสิทธิใดๆ ในที่ดินตามโฉนดแต่อย่างใด คงได้แต่เพียงกระดาษโฉนดไว้ในครอบครองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าผู้ให้กู้ประสงค์ที่จะให้เป็นการจำนองตามกฎหมายแล้ว จะต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
3. ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับจดทะเบียนจำนองตามกฎหมาย
 ผลของสัญญาจำนอง
1. ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิในทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ก็ตาม
2. นอกจากนี้ผู้รับจำนองยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาทรัพย์สินที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิของตนได้หากเข้าเงื่อนไข ดังนี้คือ
(1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี
(2) ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ และ
(3) ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
3. ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ หรือ ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดเป็นของผู้รับจำนองและราคาทรัพย์นั้นมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ ทั้งสองกรณีนี้ เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจำนวนในเงินที่ยังขาดอยู่นั้น
4. ในกรณีที่มีการบังคับจำนอง เมื่อนำที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใดแล้วก็ให้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้คืนให้แก่ผู้รับจำนอง หากมีเงินเหลืออยู่เท่าใดก็ให้ส่งมอบคืนให้แก่ผู้จำนองผู้รับจำนองจะเก็บ[12]
ไว้เสียเองไม่ได้

วิธีบังคับจำนอง
 ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้คืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้รับจำนองจะใช้สิทธิบังคับจำนอง หากถึงกำหนดนัดแล้วลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระ ผู้รับจำนองต้องฟ้องผู้จำนองต่อศาล เพื่อให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ ก็ขอให้ศาลสั่งให้นำเอาทรัพย์ที่จำนองนั้นออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ของตน หรือขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์ที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิของตนหากเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ จะเห็นได้ว่ากฎหมายบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าการบังคับจำนองจะต้องฟ้องคดีต่อศาลเสมอจะนำเอาที่ดินออกขายทอดตลาดเองไม่ได้ และต้องมีการออกจดหมายทวงหนี้ไปถึงลูกหนี้ก่อนเสมอจะฟ้องคดีโดยไม่มีการบอกกล่าวทวงถามก่อนไม่ได้
การบังคับจำนองนี้จะไม่คำนึงเลยว่าในขณะที่มีการบังคับจำนองนั้น ทรัพย์สินที่จำเลยอยู่ในความครอบครองของใคร หรือลูกหนี้ได้โอนกรรมสิทธิไปยังผู้อื่นกี่ทอดแล้วก็ตาม สิทธิจำนองย่อมติดตามตัวทรัพย์สินที่จำนองไปด้วยเสมอ แม้ว่าจะเป็นการโอนทางมรดกก็ตาม สิทธิจำนองก็ติดตามไปด้วย[13]


ค้ำประกัน VS จำนอง VS จำนำ

1.        ค้ำประกันเป็นการประกันด้วยบุคลคลซึ่งจะต้องเป็นบุคคลภายนอกเข้าผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระนั้นซึ่งบุคคลภายนอกทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้ โดยที่ลูกหนี้ไม่ยินยอมก็ได้  เพราะกฎหมายใช้คำว่า “ ค้ำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง” ลูกหนี้จะเป็นผู้ค้ำไม่ได้  เพราะแม้ลูกหนี้จะเป็นผู้ค้ำก็หาทำให้เจ้าหนี้มีหลักประกันดีขึ้นแต่อย่างใดถ้าบุคคลภายนอกมิได้ทำสัญญาผูกพันตนต่อเจ้าหนี้  แต่ผูกพันระหว่างบุคคลภายนอกด้วยกันก็ไม่เป็นการค้ำประกัน ตาม มาตรา 680แต่จำนองกับจำนำนั้น เป็นการประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์  ตัวบุคคลหาได้เข้าไปผูกพันไม่และตัวผู้จำนอง  หรือผู้จำนำ จะเป็นตัวลูกหนี้เองหรือบุคคลภายนอกก็ได้
2.      ทั้งค้ำประกัน จำนองและจำนำ ต่างก็เป็นหนี้อุปกรณ์ ประกันหนี้ประธานจึงต้องมีหนี้ประธานเกิดขึ้นก่อนเสมอ  ถ้าสัญญาประธานใช้บังคับไม่ได้แล้ว สัญญาอุปกรณ์ย่อมใช้ไม่ได้ด้วยเช่นนี้หนี้ประธานจะต้องสมบูรณ์  ซึงตามมาตรา 681 และ 707 ไดนำบทบัญญัติว่าด้วยการคำประกันมาบังคับใช้โดยอนุโลม
3.      ค้ำประกัน เป็นการประกันด้วยบุคคลเท่านั้นแต่การจำนองนั้นเป็นการประกันด้วยทรัพย์ คืออสังหาฯ  และสังหาฯพิเศษ ตามมาตรา 703 และการจำนองนั้นต้องเป็นประกันด้วยสังหาฯเท่านั้น ตามมาตรา 747 บัญญัติไว้ชัดแจ้ง
4.      สัญญาค้ำประกันไม่มีแบบ หากแต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามมาตรา 680 ว.2 อย่างไรก็ดีแต่ถ้าสัญญาจำนองนั้นหากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 714 และไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ สัญญาจำนำ มิได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด ตามมาตรา 747 จะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำ ถ้าไม่ส่งมอบก็ไม่เป็นจำนำ  และตามมาตรา 747 ก็ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยจึงจะฟ้องร้องกันได้  แต่ทั้นี้ต้องพิจารณาหนี้ประธานเป็นหลัก
5.      ค้ำประกันเป็นการประกันด้วยตัวบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องมีเรื่องทรัพย์มาเกี่ยวข้องแต่จำนองและจำนำเป็นการประกันด้วยทรัพย์ เป็นเหตุทำให้ทรัพย์อาจหลุดมือไปได้ ผู้จำนองและผู้จำนำจึงต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ ตามมาตรา 705 แห่งบทบัญญัติว่าด้วยการจำนอง
6.       สัญญาค้ำประกันสามารถตกลงอย่างใดๆก็ได้ในสัญญา เท่าที่ไม่ขัดต่อบทกฎหมาย  ข้อตกลงนั้นก็สมบูรณ์ แต่ทั้งสัญญาจำนองและจำนำนั้น มีบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจำนองและการบังคับจำนำบัญญัติไว้ชัดแจ้ง กล่าวคือ การที่ตะตกลงกันไว้เสียก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนำชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ให้ผู้รับจำนองหรือผู้รับจำนำ เข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งจำนองหรือจำนำหรือว่าให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่อนอย่างใด นอกจากบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจำนองหรือการบังคับจำนำ ข้อตกลงเช่นนั้นไม่สมบูรณ์ ตามมาตรา 711 การจำนอง และมาตรา 756 การจำนำ
7.        สัญญาค้ำประกันเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำชำระหนี้ได้นับแต่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ กล่าวคือ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วจึงเรียกให้ลูกหนี้รับผิด  หากลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติ เจ้าหนี้จึงจะเรียกผู้ค้ำได้ ตามมาตรา 686การบังคับจำนองและบังคับจำนำเช่นเดียวกัน จะฟ้องบังคับคดีได้ก็แต่หนี้ประธานถึงกำหนดชำระแล้ว
8.         สัญญาค้ำประกัน มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 หากหนี้ขาดอายุ ลูกหนี้ยกข้อต่อสู้หรือผู้ค้ำยกข้อต่อสู้ต่อเจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 694 แต่จำนองไม่มีอายุความตามมาตรา 193/27 แม้ขาดอายุความก็บังคับจำนองได้ตามมาตรา 745จำนำ มีอายุคาม 6 เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์จำนำ หรือขายทอดตลาด ตามมาตรา 763
 9.        หลักเกณฑ์ในเรื่องผู้จำนองร่วมกันหลายคน  ไม่มีสิทธิ์ไล่เบี้ยกันเอง แต่มีสิทธิ์ได้คืนจากลูกหนี้ ตามมาตรา 725+724 แตกต่างจากผู้ค้ำหลายคน ตามมาตรา  682 ให้รับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วมสามารถไล่เบี้ยกันเองได้ตามมตรา 693 เพราะผู้จำนองเป็นบุคคลผู้ต่างเอาทรัพย์สินมาประกันหนี้สิ่งประกันหนี้คือทรัพย์จำนอง ผู้จำนองมิได้เข้าผูกพันด้วยแต่อย่างใด ซึ่งต่างจากผู้ค้ำที่ผู้ค้ำต้องผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ อย่างไรก็ดีในเรื่องจำนำ ก็เป็นการประกันทรัพย์เช่นเดียวกับจำนอง แม้มิได้บัญญัติไว้จึงควรปรับใช้มาตรา  724 บังคับโดยอนุโลม
10.       ผู้จำนองที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนอง จะขอให้เจ้าหนี้บังคับเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนโดยอาศัย ม. 688 ,689 และ 690 หาได้ไม่ เพราะมาตรา 727 และ 707 ว่าด้วยการรจำนองอนุโลมเพียง 681,697,700,701 ในเรื่องผู้ค้ำหลุดพ้นความรับผิดและหนี้อันสมบูรณ์ใช้เท่านั้นแต่ในเรื่องจำนำ ไม่มีบทระบุลำดับบังคับจำนำ  การเฉลี่ยการชำระหนี้จึงนำ ม. 734 จำนองมาใช้โดยอนุโลม การจำนำก็เป็นการประกันด้วยทรัพย์เช่นจำนอง จึงใช้สิทธิตาม ม. 688,689 และ 690 ว่าด้วยค้ำประกันไม่ได้ด้วย
11.      การบังคับจำนองนั้นตามมาตรา 728 และ 729 ไม่ว่าวิธีใดจะต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้นถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ต้องฟ้องต่อศาลขอบังคับจำนองเท่านั้น แต่ในการบังคับจำนำวิธีการเหมือนกันเพียงแต่ผู้รับจำนำสามารถเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดได้ ไม่ต้องฟ้องต่อศาลเช่นจำนอง ตาม ม.764,765 และการบังคับจำนำนั้นมีได้วิธีเดียว  คือขายทอดตลาดเท่านั้น ไม่มีการเอาทรัพย์หลุดเช่น 729 ว่าด้วยจำนอง
 12.       สิทธิจำนองครอบเพียงใด ตามมาตรา 715 ทรัพย์สินที่จำนองย่อมเป็นประกันหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ด้วย มี 3 อย่างคือ 1.ดอกเบี้ย 2. ค่าสินใหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ 3.ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง แต่สิทธิจำนำครอบเพียงใดนั้น ตาม ม. 748 บัญญัติเช่นเดียวกับจำนอง 1,2,3, เพียงแต่เพิ่ม 4.ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจำนำ และ 5.ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุดบกพร่อง ซึ่งการค้ำประกันนั้น ถ้าเป็นการค้ำอย่างไม่มีจำกัด การค้ำหนี้ประธานย่อมคุ้มถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ด้วย ตาม ม.683 ซึ่งคล้ายการจำนองและจำนำ หากแต่ไม่มีค่ารักษาทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี ม. 684 ยังกำหนดให้ ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมศาลเช่นเดียวกับจำนองและจำนำด้วย
12.      ผลแห่งการบังคับจำนองและจำนำ ตาม ม. 732,733 และ 767 บัญญัติไว้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อบังคับจำนองหรือจำนำ ได้จำนวนเงินสุทธิเท่าใด ต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์ให้เสร็จสิ้นถ้ายังมีเงินเหลืออยู่เท่าใด ก็ให้ส่งคืน แก่ผู้จำนองหรือจำนำ (767 ว.1+732)แต่ตาม ม. 732  ระบุให้ต้องจัดสรรตามลำดับ แต่จำนำไม่ต้องเพราะเจ้าหนี้ไม่ต้องฟ้องต่อศาลก็ขายทอดตลาดได้ และกรณีตาม ม.733 ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุดหรือขายทอดตลาด แล้วไดเงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนที่ค้างชำระอยู่ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด  กล่าวคือทั้งลูกหนี้ชั้นต้น และผู้รับจำนองแต่ ม. 767 ว.2 ถ้าได้เงินจำนวนน้อยกว่า จำนวนค้างชำระ ตัวผู้จำนำหรือบุคคลภายนอก ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดอยู่  ตามมูลนี้ประธานที่บังคับได้ตามกฎหมาย ในเรื่องค้ำประกันจะแตกต่างจากจำนองคือลูกหนี้ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดนั้นถ้าผู้ค้ำช้ำชำระหนี้ไปหมดจะเหมือนกรณีจำนำ
 14.       ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาค้ำประกันนั้น ตาม ม. 698 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใดๆแต่ ม. 744 กำหนดว่าจำนองย่อมระงับสิ้นไป
(1.)  เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไป ด้วยประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ
(2.)   เมื่อปลดจดนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ
(3.)  เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น
(4.)  เมื่อถอนจำนอง
(5.)  เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาลอันเนื่องมาจากการบังคับจำนองหรือถอนจำนอง
(6.)  เมื่อทรัพย์จำนองนั้นหลุด
และใน ม. 769 จำนำย่อมระงับสิ้นไป
(1)    เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไป เพราะเหตุประการอื่นมิใช่เหตุอายุความ
(2)    เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำ
จะเห็นไดว่าทั้งจำนอง และจำนำแม้หนี้จะขาดอายุความก็ยังมิใช่เหตุที่ทำให้หนี้ระงับ
               แต่ค้ำประกันระงับไม่ว่าจะเพราะเหตุใดๆ
อีกทั้งจำนำเมื่อสัญญาสมบูรณ์ด้วยส่งมอบ หนี้จะระงับก็ต้องส่งคืน ต่างจากจำนองที่ต้องไปจดทะเบียน ตาม ม. 746[14]

 ________________________________________________________








Note
_______________________________________________________________________________________________________________________________

[1]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๑๕
[2]ปัญญา ถนอมรอด,คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ:จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,พิมพ์ครั้งที่๘)หน้า๙๑
[3]ชัยยุทธ์ ศรีจำนงค์,เอกสารประกอบการสอน วิชา LA3112 :หมวดที่1บทเบ็ดเสร็จทั่วไป,หน้า๒๙๗
[4]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๔๓
[5]ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร,ถาม-ตอบ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชนพิมพ์ครั้งที่ 5, ๒๕๕๓) หน้า๗๖
[6]ปัญญา ถนอมรอด,คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ:จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,พิมพ์ครั้งที่๘)หน้า๓๖๖
[7]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๕๑
[8]ชัยยุทธ์ ศรีจำนงค์,เอกสารประกอบการสอน วิชา LA3112 :หมวดที่1บทเบ็ดเสร็จทั่วไป,หน้า๓๒๔
[9]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๒๕
[10]ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร,ถาม-ตอบ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชนพิมพ์ครั้งที่ 5, ๒๕๕๓) หน้า๖๒
[11]ชัยยุทธ์ ศรีจำนงค์,เอกสารประกอบการสอน วิชา LA3112 :หมวดที่1บทเบ็ดเสร็จทั่วไป,หน้า๓๐๒
[12]รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)หน้า๑๓๒
[13]ปัญญา ถนอมรอด,คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ:จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,พิมพ์ครั้งที่๘)หน้า๒๘๐
[14]เพียงสายสร้อย,เปรียบเทียบค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(online)แหล่งที่มา;http://www.oknation.net/blog/print.php?id=221647(17 กุมภาพันธ์ 2555)

 Reference
_________________________________________________________________________________

รุจิรา ภัทรกรัณฑ์,หลักก่อนสอบว่าด้วยกฏหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คุณา,พิมพ์ครั้งที่๑)
ปัญญา ถนอมรอด,คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ:จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,พิมพ์ครั้งที่๘)
ชัยยุทธ์ ศรีจำนงค์,เอกสารประกอบการสอน วิชา LA3112 :หมวดที่1บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร,ถาม-ตอบ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชนพิมพ์ครั้งที่ 5, ๒๕๕๓)
เพียงสายสร้อย,เปรียบเทียบค้ำประกัน จำนอง จำนำ,(online)แหล่ที่มา;http://www.oknation.net/blog/print.php?id=221647(17 กุมภาพันธ์ 2555)